เผยแพร่งานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1

วันที่ 7 มกราคม 2568 เวลา 08:30 น. ดร.วิชาญ เกษเพชร ผอ.สพป.น่าน เขต 1 เผยแพร่งานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1

ชื่อเรื่อง      การพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1

ผู้วิจัย        วิชาญ  เกษเพชร

ปีที่พิมพ์    2567

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 1, 2) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 1, 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 การดำเนินการวิจัย

มี 3 ระยะได้แก่

              การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 แบ่งได้ 5 ขั้นตอน คือ 1.1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน (กลุ่มเป้าหมายในการให้ข้อมูลจำนวน 14 โรงเรียน รวม 42 คน ได้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 14 คน และครูผู้สอน จำนวน 28 คน) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้ง 5 องค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.88 – 0.98  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อทั้ง 81 ข้อ อยู่ระหว่าง 0.600-0.982 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Version 12 1.2) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 35 เรื่อง 1.3) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน 9 คน 1.4) การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 2 โรงเรียนและ 1.5) การสังเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี MACR โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน

              การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 แบ่งได้ 2 ขั้นตอน คือ การยกร่างรูปแบบและการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบและยืนยันรูปแบบ (กลุ่มเป้าหมายในการให้ข้อมูล จำนวน 50 โรงเรียน รวมจำนวน 150 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 50 คน และครูผู้สอน 100 คน) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้ง 5 องค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.83 – 0.98  มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อทั้ง 101 ข้อ อยู่ระหว่าง 0.638-0.976 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Version 12

              การวิจัยระยะที่ 3 การจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 แบ่งได้ 3 ขั้นตอน คือ 3.1) การจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบ 3.2) การเผยแพร่คู่มือการพัฒนารูปแบบและ 3.3) การศึกษาความพึงพอใจในการใช้รูปแบบ (กลุ่มเป้าหมายในการให้ข้อมูล จำนวน 50 โรงเรียนรวมจำนวน 150 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 50 คน และครูผู้สอน 100 คน) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้ง 5 องค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.81 – 0.96 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อทั้ง 101 ข้อ อยู่ระหว่าง 0.649 – 0.981การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Version 12

          ผลการวิจัยพบว่า

              การพัฒนารูปแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่

              องค์ประกอบที่ 1 ด้านแนวคิด ทฤษฎี หลักการและเหตุผล ประกอบด้วย หลักการบริหารเชิงระบบ หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

              องค์ประกอบที่ 2 ด้านวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาให้ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ คุณภาพของนักเรียนด้านวิชาการ คุณภาพของนักเรียนด้านวิชาชีพและคุณภาพของนักเรียนด้านวิชาชีวิต

              องค์ประกอบที่ 3 ด้านระบบงานและกลไกการทำงาน ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 3.1) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ 3.1.1) ด้านนโยบาย 3.1.2) ด้านบุคลากร3.1.3) ด้านงบประมาณ 3.1.4) ด้านอาคารสถานที่ สื่อการเรียนรู้และเทคโนโลยี 3.1.5) ด้านการบริหารจัดการ 3.2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ การทำงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร จำนวน 7 ขั้นตอน ได้แก่ 3.2.1) การประชุมชี้แจงครูผู้สอน/ครูประจำชั้น/ผู้เกี่ยวข้อง3.2.2) การรู้จักนักเรียนรายบุคคล 3.2.3) การคัดกรองนักเรียน 3.2.4) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน3.2.5) การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน 3.2.6) การส่งต่อนักเรียน 3.2.7) การนิเทศ ติดตามและประเมินผล 3.3) ด้านผลผลิต ได้แก่ คุณภาพนักเรียน 3 ด้าน ได้แก่ 3.3.1) คุณภาพของนักเรียนด้านวิชาการ 3.3.2) คุณภาพของนักเรียนด้านวิชาชีพ 3.3.3) คุณภาพของนักเรียนด้านวิชาชีวิต

              องค์ประกอบที่ 4 ด้านแนวทางการประเมินรูปแบบ

              องค์ประกอบที่ 5 ด้านเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้